Event : ปิดทองฝังลูกนิมิตผูกสีมา วัดหนองงูเหลือม จ.ชลบุรี (19-29 ม.ค 66)

กูพาไปฝากบอกงานบุญ… งานปิดทอง ตัดหวายลูกนิมิต วันที่ 19-29 มกราคม 2566 ณ วัดหนองงูเหลือม ต.ท่าบุญมี อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี และที่มาของวัดหนองงูเหลือม แต่ก่อนตั้งอยู่พื้นที่ลุ่มมีหนองน้ำไหลผ่านจำนวนมาก เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพชาวไร่

จึงสามารถได้พบเห็นงูเหลือมเป็นจำนวนมากมาหากินในหนองน้ำ พอกาลเวลาเริ่มเปลี่ยนไป ประชากรมากขึ้น การพัฒนาที่ไม่สิ้นสุดของประเทศไทย พื้นที่แห่งนี้จึงได้พัฒนาจากหนองน้ำ จากไร่สวน ประชากรในพื้นที่เริ่มแออัด จึงได้ก่อสร้างบ้านมากขึ้น และได้รวมตัวเป็นหมู่บ้านนี้ขึ้น สาเหตุนี้เองจึงเรียก “บ้านหนองงูเหลือม” เป็นต้นมา

ระยะเวลาการจัดงาน วันที่ 19-29 มกราคม 2566 เปิดตั้งเเต่ : 06:00 - 23:00 น. เเละ ตัดหวายลูกนิมิต วันที่ 29 มกราคม 2566 เวลา 17:00 น.

สถานที่จัดงาน ณ วัดหนองงูเหลือม ต.ท่าบุญมี อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี

ประวัติความเป็นมาวัดหนองงูเหลือม

วัดหนองงูเหลือม  แต่ก่อนตั้งอยู่พื้นที่ลุ่มมีหนองน้ำไหลผ่านจำนวนมาก  เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพชาวไร่  จึงสามารถได้พบเห็นงูเหลือมเป็นจำนวนมากมาหากินในหนองน้ำ พอกาลเวลาเริ่มเปลี่ยนไป ประชากรมากขึ้น การพัฒนาที่ไม่สิ้นสุดของประเทศไทย พื้นที่แห่งนี้จึงได้พัฒนาจากหนองน้ำ จากไร่สวน ประชากรในพื้นที่เริ่มแออัด จึงได้ก่อสร้างบ้านมากขึ้น และได้รวมตัวเป็นหมู่บ้านนี้ขึ้น สาเหตุนี้เองจึงเรียก “บ้านหนองงูเหลือม” เป็นต้นมา

พอได้เริ่มมีหมู่บ้านหนองงูเหลือมขึ้นมาใหม่ ชาวบ้านจึงอยากให้หมู่บ้านของตนเองมีวัดอยู่ในหมู่บ้าน เพื่อประกอบพิธีกรรมและการปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนา เนื่องจากพื้นที่หรือบริเวณแถวนี้ไม่มีวัดเลยจะไปที่ไหนก็ลำบาก ชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนที่มีความศรัทธาและความเลื่อมใสจำนวนมาก ได้ช่วยกันหาพื้นที่เพื่อสร้างวัดแห่งนี้  แล้วได้เริ่มแรกสร้างเป็นสำนักสงฆ์ใน พ.ศ. ๒๕๑๕  และ ได้รับประกาศตั้งให้เป็นวัดเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐

ระหว่างระยะเวลานั้นได้มีปัญหาอุปสรรคมากมาย อาทิเช่น การสร้างอุโบสถที่ไม่แล้วเสร็จ ไม่มีศาลาฌาปนกิจ การใช้พื้นที่ไม่จัดการวางระบบให้ดีทำให้สิ่งก่อสร้างแต่ละอย่างกระจัดกระจายไม่เรียบร้อย อีกทั้งยังปัญหาเรื่องน้ำ แต่ปัญหาเหล่านี้ได้ขจัดหมดไป หลังจากมีท่านพระครูอุดมพัฒนการ  ซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวดหนองงูเหลือม ได้มาพัฒนาวัดหนองงูเหลือมแห่งนี้ได้สำเร็จ ก่อนที่ท่านพระครูอุดมพัฒนการได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองงูเหลือม

(พระอธิการน้อย พลธมฺโม ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองงูเหลือม)

ท่านผู้ใหญ่บ้านพร้อมคณะญาติโยมบ้านหนองงูเหลือม ได้มาปรึกษาท่านพระครูอุดมพัฒนการ ซึ่งในขณะนั้นเป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุทอง เจ้าคณะตำบลธาตุทอง เนื่องจากทางผู้ใหญ่บ้านเห็นพระครูอุดมพัฒนการได้พัฒนาและบูรณะวัดธาตุทองสำเร็จ จึงอยากขอความช่วยเหลือท่านพระครูอุดมพัฒนการ “ขอพระภิกษุมาอยู่จำพรรษาให้มาพัฒนาและบูรณะวัดหนองงูเหลือมนี่ให้ดีขึ้น” เพราะวัดหนองงูเหลือมร้างการพัฒนาและบูรณะมานาน ขนาดได้สร้างอุโบสถมาแล้วถึง ๒ หลังก็ไม่แล้วเสร็จ และศาลาฌาปนกิจก็ยังไม่มีอีก

​ทางท่านพระครูอุดมพัฒนการหลังจากได้ฟังคำขอร้องจากผู้ใหญ่บ้านพร้อมคณะญาติโยมหนองงูเหลือมนี้ จึงได้ขอคำแนะนำคำปรึกษาจาก เจ้าคณะอำเภอเกาะจันทร์ และเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี โดย “พระเทพชลธารมุนี เจ้าคณะจังหวัดชลบุรี”   ได้ให้คำแนะนำว่า ให้เจ้าคณะอำเภอเกาะจันทร์ นิมนต์พระสงฆ์ที่อยู่ในการดูแลของท่านพระครูอุดมพัฒนการ(เนื่องจากพระครูอุดมดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดธาตุทองอยู่แต่มีความประสงค์อยากพัฒนาและบูรณะวัดหนองงูเหลือมแห่งนี้) ให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองงูเหลือมแห่งนี้ คอยฟังคำแนะนำ คำชี้ทาง และความช่วยเหลือจากท่านพระครูอุดมพัฒนการ ให้พัฒนาและบูรณะวัดหนองงูเหลือมนี้ให้สำเร็จให้ได้

จึงได้ส่งท่านพระปลัดศรีชล  ชินธมฺโม มาดูแลวัดหนองงูเหลือม ปี พ.ศ.๒๕๕๓ เป็นเจ้าอาวาส  คอยฟังคำแนะนำและความช่วยเหลือจากท่านพระครูอุดมพัฒนการ และได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อให้ตำแหน่งท่านพระครูอุดมพัฒนการ เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองงงูเหลือม เมื่อท่านพระครูอุดมพัฒนการมาอยู่ ได้พัฒนาและบูรณะวัดหนองงูเหลือม มาสร้างอุโบสถ หลังที่ ๓ ได้สำเร็จ (หลังจากอุโบสถ ๒ หลังแรกไม่แล้วเสร็จ) ซึ่งอุโบสถหลังนี้ได้สำเร็จขึ้นในวาระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่  ๙  เฉลิมพระชนม์พรรษา  ๘๔  พรรษา  

จึงได้จัดการวางศิลาฤกษ์  ในวันที่ ๑๕ สิงหาคม  พ.ศ.๒๕๕๓ โดยประธานในพิธี คือ ท่านสนธยา คุณปลื้ม (รัฐมนตรีว่าการวัฒนธรรม) , คุณเยาวรัตน์  พรวิโรจน์กรกุล , ชาวบ้านหนองงูเหลือม และ คณะญาติโยมจากสารทิศ ร่วมสร้างอุโบสถเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา ถวายพระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  รัชกาลที่  ๙ 

เนื่องจากสร้างอุโบสถได้สำเร็จ จึงยังขาดพระประธานในอุโบสถหลังนี้ ท่านพระครูอุดมพัฒนการมีความคิดที่หล่อพระ เป็นพระประธานประจำในอุโบสถหลังนี้ให้ได้ จึงได้พระประธานประจำอุโบสถเป็นหลวงพ่อสมหวังดังที่เห็นกันในทุกวันนี้

ที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติม watnongngulueamchonburi.com

Gallery

Tag

บทความน่าสนใจ